ทำความรู้จัก คุณสมบัติ และการทำงานของสีสะท้อนความร้อน เซรามิคโค้ตติ้ง

2021-06-21 09:52:59
สีสะท้อนความร้อน Ceramic Coating คือ ฉนวนกันความร้อน
ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงมีส่วนประกอบของเม็ดเซรามิคโบโรซิลิเกต (Ceramic Borosilicate) ซึ่งมีส่วนผสมของสารต่อต้านความร้อนรูปทรงกลมที่เรียกว่า ไมโครสเฟียร์เซรามิค (Microspheres Ceramic) ที่มีลักษณะเดียวกับวัสดุเซรามิค (แผ่นเซรามิค) ที่ติดตั้งบนกระสวยอวกาศขององค์กรอวกาศ (NASA) ที่ใช้เป็นฉนวนป้องกันรังสีความร้อน Ceramic Coating มีส่วนผสมของ อิมัลชั่นบิทุเมนเหลวเสริมความแข็งแรงด้วยเส้นใยโพลีเอสเตอร์, สารอะครีลิคโพลิเมอร์เรซิ่นและไททาเนียมไดอ๊อกไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการด้านทานรังสีอัลต้าไวโอเลต ช่วยป้องกันรักษาหลังคาและผนังอาคารให้มีอายุทนทานยาวนาน รวมทั้งยังได้ผ่านการทดสอบในห้องปฎิบัติการ ว่ามีคุณสมบัติในการทานต่อสภาพบรรยากาศทนต่อสารเคมี กรดและด่างมากมายหลายชนิด มีส่วนผสมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (NON TOXIC)ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะของเหลว (LIQUI STATE) หรือเมื่อแห้งเป็นชั้นฟิล์ม (DRY FLIM)
 
 

CERAMIC COATING ทำงานได้อย่างไร
มีส่วนผสมของเซรามิคเป็นฉนวนสะท้อนความร้อนที่มีประสิทธิภาพ จึงมีผลให้ความร้อนไม่สามารถผ่านทะลุวัสดุทื่ทาด้วย CERAMIC COATING ได้สะดวก และสามารถช่วยลดอุณหภูมิบนหลังคาแผ่นเหล็กหรือดาดฟ้าได้ถึง 15-20° C อณุภาคของลูกเซรามิคนับล้านๆได้ถูกผสมกับสี ทำให้ความร้อนไม่สามารถผ่านเข้ามาได้ ตัวอย่างเช่น : ถ้าจอดรถกลางแจ้ง เมื่อมีแสงแดดส่องเป็นเวลานานทำให้ตัวรถร้อนมีผลให้ภายในรถร้อนตามไปด้วย แต่ถ้าจอดรถในที่ร่ม ถึงแม้จะมีแสงแดดส่องก็ไม่สามารถทำให้ภายในรถได้รับความร้อนเท่ากับจอดกลางแจ้ง เนื่องจากมีวัสดุช่วยกำบังแสงแดดนั่นเอง ก่อนทำ CERAMIC COATING 55° C หลังทำ CERAMIC COATING 36° C ใช้ฉนวนป้องกันความร้อนเคลือบที่ผิวด้านนอกของอาคาร เป็นการป้องกันความร้อนโดยการใช้ ฉนวนกันความร้อนชนิดสะท้อนรังสีความร้อน (Reflective Insulation) เคลือบหรือทาไว้ที่ผิวด้านนอกของอาคารหรือโรงงานบริเวณหลังคาหรือผนังอาคารโดยฉนวนประเภทนี้เมื่อได้รับรังสีความร้อนจากการแผ่รังสีของแสงอาทิตย์ก็จะทำหน้าที่ในการสะท้อนรังสีดังกล่าวออกไป (มากกว่า 90%) คงเหลือความร้อนเพียงบางส่วนทำให้ผิวของหลังคาหรือผนังอาคารมีอุณหภูมิที่ต่ำลงมากปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทจากผิวด้านนอกของอาคารไปยังผิวด้านในของอาคารก็จะมีปริมาณน้อยลงทำให้ภายในตัวอาคาร "เย็นลง"


หมายเหตุ วิธีนี้เป็นวิธีที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคารช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายจากการใช้เครื่อง ปรับอากาศ






รูปภาพ




Today This Month Total
342 5094 198973