งานตัดความชื้นโครงสร้างอาคาร การสะสมความชื้นมักพบในผนังอาคารของประเทศไทย

2022-02-22 02:06:25
การสะสมความชื้นมักพบในผนังอาคารของประเทศไทยซึ่งเป็นเขตร้อนชื้นปัญหาดังกล่าวส่งผล กระทบต่อประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคาร ลดคุณสมบัติเชิงความร้อนของวัสดุกันความร้อน และ การเกิดเชื้อราภายในและที่บริเวณผิวผนังซึ่งปัญหาดังกล่าวจะสร้างความเสียหายให้แก่โครงสร้างอาคาร และสิ่งปลูกสร้าง

ปัญหา ความชื้นผนังอาคาร ที่เกิดจากการดูดซึมของน้ำใต้ดินขึ้นมาเหนือระดับดิน (Rising damp) เป็นปัญหาหลักของ อาคาร โบราณสถานและอาคารเก่าในกรุงเทพฯ ส่งผลให้เกิดความชำรุดเสียหายต่อโครงสร้างอาคาร งานจิตรกรรมฝาผนัง งานปูนฉาบ งานปูนปั้น ตลอดจนองค์ประกอบตกแต่งทางสถาปัตยกรรม ทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยวิธีแก้ปัญหาความชื้นจากน้ำใต้ดินนั้นมีหลากหลายวิธีทั้งวิธีการระบายความชื้นแบบธรรมชาติและวิธีการหยุดหรือ ลดการดูดซึมของน้ำด้วยวัสดุทางเคมีหรือวัสดุที่ทนทานต่อความชื้น ชนิดต่างๆ ทั้งนี้การจะเลือกใช้วิธีใดในการแก้ปัญหาก็ขึ้นกับสาเหตุระดับความเสียหาย ข้อจำกัดในการทำงานและงบประมาณที่มีวิธีการ "ตัดความชื้นอาคาร" หมายถึงการติดตั้งวัสดุที่ทนทานต่อความชื้นเข้าไปคั่นตลอดแนวความหนาของผนังก่ออิฐ เพื่อหยุดการซึมของน้ำให้จบอยู่ใต้แนวตัดนั้น

ปัจจุบันวิธีการหนึ่งที่นิยมมากพอสมควรในการตัดความชื้นอาคาร คือ การตัดความชื้นผนังอาคารด้วยเคมีภัณฑ์ที่เรียกว่า "คอนกรีตอีพ็อกซี่เรซิ่น" ที่มีคุณสมบัติรับแรงได้ดีและป้องกันความชื้นหรือน้ำซึมผ่าน โดยมีวิธีการ ตัดความชื้นอาคาร เริ่มจากการใช้สว่านไฟฟ้าเจาะรูทะลุผนังก่ออิฐตามแนวนอนหรือแนวตั้ง ความหนาราว 3 ซม. จากนั้นติดตั้งไม้แบบประกับทั้งสองฝั่งและเทกรอกคอนกรีตอีพ็อกซี่เรซิ่นซึ่งเป็นสารผสมเหลวเข้าไปจนเต็มช่องว่าง และทิ้งไว้จนแข็งตัวจึงถอดแบบออก โดยการเจาะผนังนี้จะต้องทำสลับกันเป็นช่วงๆ ยาวช่วงละไม่เกิน 40-50 ซม.เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการถ่ายน้ำหนักของผนังอิฐเดิม ข้อสำคัญของวิธีการ ตัดความชื้นอาคาร แบบนี้คือต้องฉาบผิวผนังให้เสร็จก่อนการเจาะทั้งสองฝั่งเพื่อให้เคมีภัณฑ์ไหลออกมาจนเสมอผิวปูนฉาบเพื่อป้องกันความชื้นไม่ให้วิ่งผ่านขึ้นไปตอนบนได้ทั้งนี้เมื่อถอดไม้แบบแล้วจึงใช้เครื่องเจียรตัดแต่งคอนกรีตอีพ็อกซี่เรซิ่นที่ล้นออกมาทิ้งไปจนเสมอกับผิวปูนฉาบให้เรียบร้อย

สาเหตุของความชื้นอาคาร คือ

  • เกิดจากน้ำในระหว่างการก่อสร้างอาคาร
  • เกิดจากการดูดซึมน้ำในดิน โดยวัสดุที่แห้งหรือมีรูพรุนผ่านกำแพง หรือ พื้นในส่วนใต้ดิน
  • เกิดจากความชื้นในอากาศ คือ ความชื้นที่เกิดขึ้น ในสภาวะที่อุณหภูมิภายนอกและภายในอาคารต่างกัน ทำให้ เกิดการกลั่นตัวของอากาศเป็นละอองน้ำหรือหยดน้ำ แล้วโดนดูดซึมโดย วัสดุพรุน (Porous or Hydroscopic materials) ของอาคาร
  • เกิดจาก ฝน ไหล รั่ว ซึม เข้าสู่อาคาร
  • เกิดจากน้ำที่รั่วซึมไหลออกมาจากท่อปะปา หรือ ท่อระบายน้ำต่างๆ ที่บกพร่องเสียหาย
  • เกิดจากน้ำท่วมขัง โดยภัยธรรมชาติ หรือจากการทำความสะอาดอาคาร
การตัดความชื้นของโครงสร้างอาคารด้วยวิธี Stitch Coring และ อีพ็อกซี่เกร๊าท์ตัดความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นสู่ เสา หรือผนังอาคาร ซึ่งการ ตัดความชื้น วิธี Stitch Coring และ อีพ็อกซี่เกร๊าท์ตัดความชื้น นี้นั้นจะ ส่งผลให้อาคารมีอายุการใช้งานนานมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถทาสีเพื่อความสวยงานของโครงสร้างที่อยู่เหนือแนวที่ทำการตัดความขื้นได้อีกด้วย


ผลงานตัดความชื้น ของ บริษัท ดูรากรีต จำกัด

PROJECT REFERENCES

ลำดับที่ บริษัท สถานที่
1   พระที่นั่งไพศาลทักษิณ   กรุงเทพฯ
2   พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย   กรุงเทพฯ
3   พระที่นั่งเทพสถานพิลาส   กรุงเทพฯ
4   พระที่นั่งเทพอาสน์พิไล   กรุงเทพฯ
5   วังลดาวัลย์ (วังแดง) / สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์   กรุงเทพฯ
6   วังปารุสกวัน   กรุงเทพฯ
7   พระที่นั่งอัมพรสถาน   กรุงเทพฯ
8  หอไตร วัดอรุณราชวราราม   กรุงเทพฯ
9   พระอุโบสถ และ หอไตร วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ์   อยุธยา
10   ฐานชุกชี วัดบวรมงคลราชวรวิหาร ( วัดลิงขบ )   กรุงเทพฯ
11   วัดศาลาปูนวรวิหาร   อยุธยา
12   วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร   กรุงเทพฯ
13   พระประธาน พระอุโบสถ วัดเดิม   นครราชสีมา
14   ทำเนียบรัฐบาล / ตึกแดง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี   กรุงเทพฯ
15   บ้านพิบูลธรรม / กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน   กรุงเทพฯ
16   กรมพลังงานทหาร   กรุงเทพฯ
17   อาคารอนุรักษ์ ท่าช้างวังหลวง   กรุงเทพฯ
18   อาคารตึกแถวเก่าชุมชนเลื่อนฤทธิ์   กรุงเทพฯ
19   บ้านตระกูลหวั่งหลี   กรุงเทพฯ



รูปภาพ




Today This Month Total
365 7863 192630